นพ.ฐิติ ธุวดาราตระกูล

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพะเยา

หมอนรองกระดูก

รวมทริคการรักษา โรคหมอนรองกระดูก

แชร์

แชร์มีใครเป็น “หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท” บ้างมั้ยครับ? หมอเองก็เคยประสบปัญหานี้มาก่อน ถึงรู้ว่ามันปวดมาก ๆ จนแทบจะนอนไม่ได้เลย แต่ปัจจุบันหมอหายแล้วนะครับ วันนี้เลยอยากจะมาเล่าให้ทุกคนฟังว่า อาการแบบไหนที่เราจะต้องสังเกตสำหรับโรคนี้ มีวิธีการรักษาแบบไหนบ้าง ถ้าไม่ผ่าตัดได้มั้ย และการฝังเข็มช่วยได้จริงหรือไม่ครับ หมอนรองกระดูกสันหลัง คืออะไร อยู่ตรงไหน? หมอนรองกระดูกสันหลังอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ มีหน้าที่ ดูดซับแรงกระแทกและกระจายแรงของนํ้าหนักตัวผ่านกระดูกสันหลังเวลาเคลื่อนไหวร่างกาย อาการของหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท 1. ปวดบริเวณเอวและสะโพก ร้าวลงขา2. ปวดมากขึ้น เวลาเบ่ง ไอหรือจาม3. ปวดมากขึ้นเวลาเดินไกล อาจปวดชาลงไปถึงขาเหมือนเป็นตะคริว ต้องหยุดนั่งพักอาการถึงจะทุเลา4. อาการทางระบบประสาท เช่น กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง โดยเฉพาะกระดกข้อเท้าไม่ขึ้น ชาที่เท้า การควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ กลั้นไม่ได้ เป็นต้น จะรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอย่างไรดี? 1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด เป็นวิธีการแรกที่ใช้รักษาผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท มีหลายวิธี ดังนี้ การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core muscle) การปรับท่าทางการใช้ชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง การใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด การใช้ยาลดอาการปวด การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงเส้นประสาท 2. การรักษาแบบผ่าตัด เป็นการรักษาในกรณีที่ใช้วิธีการแบบไม่ผ่าตัดแล้วอาการปวดยังไม่ทุเลา หรือมีอาการรุนแรง …

รวมทริคการรักษา โรคหมอนรองกระดูก Read More »


แชร์
carpal tunnel syndrome

เช็คอาการของพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ รีบแก้ก่อนจะสาย

แชร์

แชร์ใครเคยมีอาการชานิ้วมือเป็น ๆ หาย ๆ แต่พอสะบัดมืออาการก็หายไปเอง เป็นอยู่อย่างงี้ซ้ำ ๆ ไม่เคยมาตรวจรักษา จนสุดท้าย พออาการเป็นหนักขึ้น เช่น ชาเป็นตลอดเวลา กล้ามเนื้อที่มือลีบ หยิบจับของเล็ก ๆ แล้วหลุดมือ เป็นต้น ถึงขั้นนี้ยิ่งรักษายาก อาจจะไม่หายกลับคืนมาเหมือนเดิมแม้ผ่าตัด ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรารู้สาเหตุและรีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ โอกาสหายเป็นปกติยิ่งสูงครับ พังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ คืออะไร? โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) เกิดจากการใช้งานข้อมือและมือมาก ๆ จนทำให้พังผืดและเนื้อเยื่อที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือ กดเบียดเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) ซึ่งให้ความรู้สึกที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งของนิ้วนาง ดังนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการชาและปวดที่บริเวณนิ้วเหล่านี้ได้ บางรายอาจจะรู้สึกเหมือนโดนไฟช็อตหรือมีเข็มทิ่มที่มือ หากปล่อยให้อาการเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จะเริ่มเห็นกล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือลีบ ส่งผลให้มืออ่อนแรง หยิบจับของชิ้นเล็ก ๆ แล้วหลุดมือได้ จากประสบการณ์ส่วนตัว ผู้ป่วยมักจะบอกว่า อาการที่เป็นบ่อย ๆ คือช่วงที่ใช้งานมือนั้นทำกิจกรรม เช่น …

เช็คอาการของพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ รีบแก้ก่อนจะสาย Read More »


แชร์
ปวดหลังต้นขา

ทำไมต้องผ่า ปวดตึงเส้นหลังขา…รักษาได้

แชร์

แชร์อะไรคือเส้นหลังขา? หลังต้นขาของเราจะมีกล้ามเนื้อและเอ็นที่ชื่อว่า แฮมสตริง (hamstring) หน้าที่หลัก คือ ช่วยงอข้อเข่าของเรา Reference: https://www.pittsburghmagazine.com/exercise-why-its-important-to-train-your-hamstrings/ ปวดตึงเส้นหลังขา มีอาการอย่างไร ปวดหลังต้นขา ร้าวขึ้นไปที่ก้นย้อย หรือลงมาหลังเข่า  เดินกะเผลก เพื่อเลี่ยงการลงน้ำหนักของขาข้างที่ปวด  ลุกจากเก้าอี้ลำบาก หลังจากนั่งนาน ๆ บางรายมีอาการปวดเยอะตอนกลางคืน ปัจจัยเสี่ยงอาการปวดตึงเส้นหลังขา การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการเล่นกีฬา  การนั่งเก้าอี้ที่สูงมากไปเมื่อเทียบกับรูปร่างของผู้ป่วย จนเกิดการกดทับกล้ามเนื้อจากขอบหน้าของเก้าอี้ มีโรคอย่างอื่นหรือไม่ ที่ทำให้ปวดคล้ายกันกับปวดตึงเส้นหลังขา ถึงแม้ว่าอาการปวดจากกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อมัดนี้ จะเจอบ่อย แต่แพทย์จะต้องตรวจอย่างละเอียดเพื่อเช็คว่า ปวดต้นขาด้านหลังจากเหตุอื่นด้วยหรือไม่ เช่น กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท อาการปวดภายหลังการผ่าตัดกระดูกไขสันหลัง (post laminectomy)   อาการปวดกล้ามเนื้อพังผืดของสะโพกหรือน่อง ที่ร้าวมาหลังต้นขาได้ วิธีการรักษาปวดตึงเส้นหลังขา แก้ที่ปัจจัยเสี่ยง เช่น   ก่อนเล่นกีฬาต้องวอร์มอัพ (warm up) และคูลดาวน์ (Cool down) หลังเล่นกีฬาเสร็จเสมอ  หลีกเลี่ยงการนั่งเก้าอี้ที่สูงมากเมื่อเทียบกับรูปร่าง เพื่อไม่ให้ขอบหน้าของเก้าอี้กดทับกล้ามเนื้อแฮมสตริงมากเกินไป  2. ยืดกล้ามเนื้อแฮมสตริง            …

ทำไมต้องผ่า ปวดตึงเส้นหลังขา…รักษาได้ Read More »


แชร์
กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

ปรับพฤติกรรมชีวิต พิชิตโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

แชร์

แชร์ช่วงนี้หมอมีผู้ป่วยหลายคนมาที่คลินิก ด้วยอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ที่รักษามาหลายวิธีทั้งกินยา ฉีดยา กายภาพบำบัด แต่อาการมักจะทุเลาขึ้นเพียงชั่วคราว แล้วก็กลับมาปวดใหม่ บางคนแพทย์ถึงขั้นแนะนำให้ผ่าตัดหลังแล้วด้วย แต่ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น วันนี้หมออยากจะมาแนะนำให้รู้จักกับอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ที่ต้นเหตุอาจไม่ได้เกิดจากหลังครับ มาทำความรู้จักกับกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส หรือ สลักเพชร ที่สะโพกของเรา มีกล้ามเนื้ออยู่หลายมัดซ้อนกันอยู่ แต่จะมีมัดหนึ่งที่ชื่อว่า piriformis (พิริฟอร์มิส) หลายคนอาจจะคุ้นกับคำว่า “สลักเพชร” ครับ หากกล้ามเนื้อมัดนี้หดเกร็งหรือตึงตัวมากขึ้น จะทำให้เราปวดลึก ๆ ในสะโพก ร้าวไปหลังต้นขาได้ ในบางคนกล้ามเนื้อที่ตึงยังสามารถกดเบียดเส้นประสาท sciatic (ไซอาติก) ที่ทอดผ่านตรงนี้พอดี ทำให้มีอาการปวดร้าวลงไปถึงน่องและเท้า ร่วมกับชาได้ด้วย จนดูคล้ายกับกระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทครับ กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท มีอาการอย่างไร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากทั้งตอนนั่ง ยืน หรือเดินนาน ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลานั่งครับ จะสังเกตว่า มีการขยับตัวบ่อยกว่าปกติ เพราะว่าไม่สบายก้นจากกล้ามเนื้อ piriformis ถูกกดทับจากน้ำหนักตัวนั่นเอง หรืออีกอย่างคือ ลองให้ผู้ป่วยนั่งไขว่ห้าง โดยเอาขาข้างที่ปวดไว้บน จะทำได้ลำบากครับ ปัจจัยเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท โรคนี้มีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น นั่งไขว่ห้างนาน …

ปรับพฤติกรรมชีวิต พิชิตโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท Read More »


แชร์
Dry needling

การฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry Needling) เทคนิคการรักษาอาการปวดที่ตรงจุด

แชร์

แชร์การรักษาอาการปวดในปัจจุบันมีหลายวิธีมาก แต่วิธีที่หมอเองและหมอเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลายคนนิยมใช้รักษาผู้ป่วยเป็นอันดับแรกเลยก็คือการ ฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling) ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจจะกลัว เพราะนึกถึงการฝังเข็มจีน ที่ต้องคาเข็มไว้ที่ผิวหนังหลาย ๆ เข็ม ทั่วร่างกาย หรือบางส่วนก็จะงงว่ามีฝังเข็มแบบนี้ด้วยหรือ? วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟังว่าการฝังเข็มแบบตะวันตกนั้นคืออะไร เหมาะกับโรคแบบไหน แล้วทำไมหมอถึงอยากให้ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีการนี้ มากกว่าวิธีอื่น ๆ นะครับ ฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling) คืออะไร การฝังเข็มแบบตะวันตก หรือชื่ออื่น ๆ เช่น การฝังเข็มฝรั่ง หรือการฝังเข็มแห้ง เป็นต้น เป็นการใช้เข็มเล็กบาง ๆ ไม่มียา แบบที่ใช้ฝังเข็มจีน ฝังผ่านผิวหนังลงไปในจุดที่มีอาการปวด แล้วขยับเข็มไปในทิศต่าง ๆ เพื่อสะกิดกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง และขดตัวเป็นปม ให้เกิดการกระตุกและคลายตัว  ต่างจากการฝังเข็มจีนตรงไหน? ใช้จำนวนเข็มน้อยกว่า สะกิดเข็มเฉพาะกล้ามเนื้อมัดที่ปวด ไม่ได้ฝังทั่วร่างกาย ไม่ได้ฝังเข็มคาไว้ ใช้ระยะเวลาในการรักษาน้อยกว่า ไม่ได้กระตุ้นไฟฟ้า ทำไมถึงช่วยลดปวดได้ ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งจนปวด เกิดการคลายตัวโดยตรง เพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณนั้น ของเสียที่คั่งค้างในกล้ามเนื้อถูกขับออก กระตุ้นกระบวนการฟื้นฟูของร่างกาย อาจกระตุ้นสัญญาณประสาทระงับความปวด ฝังเข็มแบบตะวันตก ใช้รักษาอาการใดได้บ้าง …

การฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry Needling) เทคนิคการรักษาอาการปวดที่ตรงจุด Read More »


แชร์
ออฟฟิศซินโดรม

8 วิธี บอกลาอาการปวดคอจาก ออฟฟิศซินโดรม

แชร์

แชร์ หลายครั้งที่หมอทำการรักษาอาการปวดคอและบ่าของคนไข้จนหายแล้ว แต่จากนั้นไม่นาน ก็กลับมาปวดใหม่ สิ่งที่หมอจะต้องทำต่ออีก คือ คนไข้มีท่าทางอะไรอย่างอื่นอีกหรือเปล่าที่ทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นที่คอและบ่าทำงานหนักขนาดนั้น อยากให้ทุกคนลองเช็ค 8 สิ่งที่ควรจะต้องทำหรือหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้อาการปวดคอจาก ออฟฟิศซินโดรม กลับมากวนใจเราอีกครับ นพ.ฐิติ ธุวดาราตระกูลนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพะเยา drthiticlinic.comแชร์


แชร์
ปวดไหล่

ปวดไหล่เรื้อรัง ไหล่ติด อาจไม่ใช่เอ็นอักเสบ

แชร์

แชร์ “มีใครเคยเป็นเอ็นไหล่อักเสบ หรือ ไหล่ติด มั้ยครับ” เวลา ปวดไหล่ แล้วไปตรวจกับหมอ หลายคนมักจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค “เอ็นไหล่อักเสบ” กัน จริง ๆ แล้วโรคนี้ตรวจได้ไม่ยาก แค่มีจุดกดเจ็บและทำท่าตรวจพิเศษเฉพาะของแต่ละเอ็น ก็จะทำให้พอบอกได้แล้วว่าเป็นเอ็นกล้ามเนื้อใดอักเสบหรือขาด ยกเว้นบางรายที่อาการไม่ชัดเจนหรือทำการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว ยังไม่หาย หมออาจจะส่งตรวจ MRI ไหล่เพิ่มเติม นพ.ฐิติ ธุวดาราตระกูลนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพะเยา drthiticlinic.comแชร์


แชร์
ปวดศีรษะข้างเดียว

ปวดหัวข้างเดียว อาจไม่ใช่ “ไมเกรน”

แชร์

แชร์ ในชีวิตนี้ทุกคนต้องเคยปวดหัว ซึ่งอาการปวดมีได้หลายรูปแบบและตำแหน่งของศีรษะ ทั้งปวดจี๊ด ๆ ปวดตุ๊บ ๆ ปวดเหมือนโดนบีบขมับ ปวดร้าวออกกระบอกตา ปวดท้ายทอย ฯลฯ และที่เจอบ่อยมาก ก็คือ ปวดหัวข้างเดียว ไม่ว่าจะเป็นข้างซ้าย ข้างขวา หรือปวดสลับกันทั้งสองข้าง และหมอเชื่อว่า ใคร ๆ ก็ต้องนึกถึง “โรคไมเกรน” ก่อนเป็นอันดับแรกใช่มั้ยครับ นพ.ฐิติ ธุวดาราตระกูลนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพะเยา drthiticlinic.comแชร์


แชร์