Dry needling

การฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry Needling) เทคนิคการรักษาอาการปวดที่ตรงจุด

แชร์

การรักษาอาการปวดในปัจจุบันมีหลายวิธีมาก แต่วิธีที่หมอเองและหมอเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลายคนนิยมใช้รักษาผู้ป่วยเป็นอันดับแรกเลยก็คือการ ฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling) ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจจะกลัว เพราะนึกถึงการฝังเข็มจีน ที่ต้องคาเข็มไว้ที่ผิวหนังหลาย ๆ เข็ม ทั่วร่างกาย หรือบางส่วนก็จะงงว่ามีฝังเข็มแบบนี้ด้วยหรือ? วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟังว่าการฝังเข็มแบบตะวันตกนั้นคืออะไร เหมาะกับโรคแบบไหน แล้วทำไมหมอถึงอยากให้ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีการนี้ มากกว่าวิธีอื่น ๆ นะครับ

ฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling) คืออะไร

การฝังเข็มแบบตะวันตก หรือชื่ออื่น ๆ เช่น การฝังเข็มฝรั่ง หรือการฝังเข็มแห้ง เป็นต้น เป็นการใช้เข็มเล็กบาง ๆ ไม่มียา แบบที่ใช้ฝังเข็มจีน ฝังผ่านผิวหนังลงไปในจุดที่มีอาการปวด แล้วขยับเข็มไปในทิศต่าง ๆ เพื่อสะกิดกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง และขดตัวเป็นปม ให้เกิดการกระตุกและคลายตัว 

ต่างจากการฝังเข็มจีนตรงไหน?

ทำไมถึงช่วยลดปวดได้

ฝังเข็มแบบตะวันตก ใช้รักษาอาการใดได้บ้าง

หลัก ๆ คือ อาการปวดที่มีเหตุมาจากกล้ามเนื้อและพังผืดได้ทั้งร่างกาย อาการปวดที่หมอใช้รักษาบ่อย ๆ เช่น

จุดเด่นของการรักษาด้วยการฝังเข็มแบบตะวันตก

1. เป็นการรักษาที่ตรงจุด

การฝังเข็มแบบตะวันตก เป็นการสะกิดเข็มกล้ามเนื้อที่หดเกร็งข้างในโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีการแก้รักษาที่ลงลึกถึงจุดที่เป็นสาเหตุ มากกว่าการนวดที่ต้องอาศัยแรงกดจากข้างนอกเข้าไปคลายปมกล้ามเนื้อ หรือการใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่อาศัยการส่งพลังงานบางอย่างจากชั้นผิวข้างนอกลงไปคลายปมกล้ามเนื้อข้างในอีกที

2. ใช้เวลาในการรักษาต่อครั้งไม่นาน

ระยะเวลาการรักษาขึ้นกับเทคนิคของหมอแต่ละคน สำหรับหมอเอง จะใช้เวลาฝังเข็มแต่ละจุด ไม่เกิน 10 วินาทีต่อเข็ม และในกล้ามเนื้อ 1 มัด อาจจะฝังประมาณ 1-5 เข็ม ขึ้นอยู่กับความกว้างของบริเวณที่กดเจ็บ โดยรวมทั้งหมด จะใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที ต่อการรักษา 1 ครั้ง

3. เห็นผลการรักษาไว

น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยหลายคนต้องการ ใครที่เคยรักษาด้วยการกินยาหรือฉีดยามาก่อนจะทราบว่า กว่ายาจะออกฤทธิ์ก็ต้องใช้เวลา หรือบางคนอาจจะไม่ตอบสนองต่อยาด้วยซ้ำ ในขณะที่การฝังเข็มแบบตะวันตกนั้น หากสามารถสะกิดคลายปมกล้ามเนื้อได้จนหมด จะรู้สึกว่าโล่งขึ้น อาการปวดและตึงลดลง หลังรักษาเสร็จทันที

4. ไม่ต้องพักฟื้นนาน

ช่วงแรก อาจจะมีอาการปวดตึงจากการระบมเข็มได้ ใน 1-3 วัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติและหายเองได้ ดังนั้นทุกคนยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันหลังจากฝังเข็มได้เหมือนเดิม หรือหากไม่ระบมเข็มมาก จะไปออกกำลังกายตามปกติก็ได้ครับ

5. ไม่ต้องมาทำบ่อย ๆ

หากสามารถสะกิดคลายปมได้หมดทุกจุด ควบคู่กับการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีอาการมากขึ้นร่วมด้วย อาการปวดมักจะทุเลาหรือหายขาด ทำเพียงแค่ครั้งเดียวจบ แต่บางรายที่มีอาการปวดเยอะหรือเป็นเรื้อรังมานาน หากยังมีจุดปวดหลงเหลืออยู่ อาจจะนัดมาทำซ้ำอีก 1-2 ครั้ง เว้นห่างสัก 1-2 สัปดาห์ก็ได้ครับ

6. ไม่ต้องกินยาเยอะ

หากเคยรับการรักษาด้วยยามาก่อนแล้วยังไม่หาย หรือกังวลเรื่องผลข้างเคียงของยา หรือไม่ต้องการกินยาเยอะ เพราะมีโรคประจำตัวต่าง ๆ วิธีการรักษานี้ ถือว่าตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้มาก แต่หมออาจจะให้ยาแก้ปวดเล็กน้อย เพื่อลดอาการปวดระบมเข็มหลังรักษา และสามารถหยุดยาได้ทันที หากไม่ปวดระบบเข็มแล้ว 

ออกกำลังกาย

การฝังเข็มแบบตะวันตกไม่เหมาะกับใคร?

ต้องการติดต่อสอบถามหมอฐิติเพิ่มเติม ได้ที่นี่

เช็ควิธีการรักษาและอัตราค่าบริการได้ ได้ที่นี่

บทความโดย


แชร์

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *