กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

ปรับพฤติกรรมชีวิต พิชิตโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

แชร์

ช่วงนี้หมอมีผู้ป่วยหลายคนมาที่คลินิก ด้วยอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ที่รักษามาหลายวิธีทั้งกินยา ฉีดยา กายภาพบำบัด แต่อาการมักจะทุเลาขึ้นเพียงชั่วคราว แล้วก็กลับมาปวดใหม่ บางคนแพทย์ถึงขั้นแนะนำให้ผ่าตัดหลังแล้วด้วย แต่ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น วันนี้หมออยากจะมาแนะนำให้รู้จักกับอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ที่ต้นเหตุอาจไม่ได้เกิดจากหลังครับ

มาทำความรู้จักกับกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส หรือ สลักเพชร

ที่สะโพกของเรา มีกล้ามเนื้ออยู่หลายมัดซ้อนกันอยู่ แต่จะมีมัดหนึ่งที่ชื่อว่า piriformis (พิริฟอร์มิส) หลายคนอาจจะคุ้นกับคำว่า “สลักเพชร” ครับ หากกล้ามเนื้อมัดนี้หดเกร็งหรือตึงตัวมากขึ้น จะทำให้เราปวดลึก ๆ ในสะโพก ร้าวไปหลังต้นขาได้ ในบางคนกล้ามเนื้อที่ตึงยังสามารถกดเบียดเส้นประสาท sciatic (ไซอาติก) ที่ทอดผ่านตรงนี้พอดี ทำให้มีอาการปวดร้าวลงไปถึงน่องและเท้า ร่วมกับชาได้ด้วย จนดูคล้ายกับกระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทครับ

piriformis

กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท มีอาการอย่างไร

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากทั้งตอนนั่ง ยืน หรือเดินนาน ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลานั่งครับ จะสังเกตว่า มีการขยับตัวบ่อยกว่าปกติ เพราะว่าไม่สบายก้นจากกล้ามเนื้อ piriformis ถูกกดทับจากน้ำหนักตัวนั่นเอง หรืออีกอย่างคือ ลองให้ผู้ป่วยนั่งไขว่ห้าง โดยเอาขาข้างที่ปวดไว้บน จะทำได้ลำบากครับ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

โรคนี้มีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น

  • นั่งไขว่ห้างนาน ๆ โดยที่ขาข้างที่ปวดวางอยู่ด้านบน
  • นั่งพับเพียบเอาขาข้างที่ปวดอยู่ข้างล่างเป็นเวลานาน
  • นั่งขับรถระยะทางไกล โดยไม่หยุดพัก 
  • ชอบเอากระเป๋าสตางค์ใส่ไว้ที่กระเป๋าหลังของกางเกง
  • โครงสร้างของร่างกายที่ผิดปกติ เช่น ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน หรืออุ้งเท้าแบน เป็นต้น ซึ่งหมอเวชศาสตร์ฟื้นฟู จะแนะนำให้เสริมพื้นรองเท้าหรือทำแผ่นรองเท้าช่วยครับ

แนวทางในการรักษา โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

ในกรณีที่หลายคน เคยทั้งกินยา ฉีดยา หรือใช้เครื่องมือลดปวดทางกายภาพบำบัดมาแล้ว อาการยังไม่ทุเลา 

จากประสบการณ์ของหมอเอง โรคนี้สามารถใช้การฝังเข็มตะวันตก (อ่านบทความเรื่องการฝังเข็มตะวันตกได้ที่นี่ คลิก) ซึ่งเป็นการสะกิดเข็มคลายปมกล้ามเนื้อมัดที่ตึง ร่วมกับการออกกำลังกาย โดยการยืดและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมครับ 

ส่วนใหญ่ อาการมักจะทุเลาตั้งแต่ครั้งแรกหลังรักษา สำหรับใครที่เป็นมานาน อาจจะใช้เวลารักษา ประมาณ 2-3 ครั้ง 

อย่างไรก็ตาม ผลการรักษาขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวัน การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ดังข้างต้น และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยครับ

ยืดสะโพก

ต้องการติดต่อสอบถามหมอฐิติเพิ่มเติม ได้ที่นี่

เช็ควิธีการรักษาและอัตราค่าบริการได้ ได้ที่นี่

บทความโดย


แชร์

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *